top of page

Reflection

Written Reflection 

Q: Are you satisfied with the connection between the concept of your work to the repertoire you’ve performed?

Do you think that you’ve explored all possibilities,

and were there any notable discoveries you’ve made?

ค่อนข้างพอใจกับความเชื่อมโยงระหว่างคอนเซปต์และบทประพันธ์ที่นำมาเล่นค่ะ

 

ด้วยความที่ Bachs on Keyboard เป็นโปรเจกต์ที่โฟกัสไปกับการทดลอง การ explore ไปในเสียงของเครื่องดนตรีต่างชนิด บทเพลง และตัวนักประพันธ์ต่างยุคสมัย repertoire ที่เลือกมาค่อนข้าง present ในส่วนนั้นได้ดี อย่าง Italian Concerto ถ้าไม่ได้เล่นบน two-manual harpsichord ก็คงไม่เข้าใจและไม่มีโอกาสได้เล่นแบบสลับคีย์ล่าง-บนตามที่บันทึกไว้ในสกอร์ หรือ Rondo เอง ถ้าเทียบกับ Italian Concerto ที่ตีความไปในทางที่ค่อนข้าง traditional ในทางกลับกันเพลงนี้จะตีความไปในทางที่ค่อนข้างใหม่กว่า มี character ที่ต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดเลยเมื่อได้ฟังจากเปียโน ด้วยความที่เพลงมีทำนองซ้ำๆ เยอะ บนฮาร์ปซิคอร์ดอาจจะเพิ่มเติมสีสันและตีความยากขึ้นเล็กน้อย ส่วน Two keyboards sonata ก็ได้ค้นพบและเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เยอะมาก เพราะมีโอกาสได้เรียนและซ้อมทั้งแบบ two pianos และ two keyboards ไม่ว่าจะเป็น touching, balancing หรือประเด็นอื่นๆ ก็ตาม

 

ในระยะเวลาเพียงเท่านี้ทำให้ต้องใช้สกิลในการพลิกแพลงและปรับตัวเยอะมาก แต่ก็ค่อนข้างประทับใจที่มีวัตถุดิบมากมายให้ได้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ เยอะมากในโปรเจกต์นี้ ไม่ว่าจะเป็นการทดลอง combination แปลกๆ เราเล่นเพลงนี้บนเครื่องนี้จะเป็นอย่างไร หรือว่า character ของเพลงนี้กับ tone ของเครื่องดนตรีชนิดนี้อาจจะเข้ากันก็ได้ และต้องตีความอย่างไร มีวิธีการเล่นออกมาอย่างไรเพื่อสื่อสารออกมาให้ผู้ชมได้รับฟัง เข้าถึงได้และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมๆกัน  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของความเป็นไปได้อื่นๆ ก็คิดว่ายังคงมีให้สำรวจและเรียนรู้อยู่อีกมากเช่นกันค่ะ

 

คิดว่าสิ่งสำคัญที่ได้ค้นพบจากการทำงานครั้งนี้ก็คงจะเป็นการเปิดใจทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (ที่เรียกได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของโปรเจกต์เลยทีเดียว) มีความกังวลมากมายระหว่างทาง ตั้งคำถามอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคอนเซปต์ไอเดียตัวเองว่าจะทำออกมาได้จริงหรือ หรือจะเป็นการนำ repertoire มาตีความ ที่พอออกมาแตกต่างจาก standard หรือความคุ้นชินของคนทั่วไปก็เกิดภาวะสงสัยในตัวเองอยู่บ้างเช่นกัน ว่าเราสามารถทำแบบนี้ได้ไหม คนอื่นเขาไม่ได้เล่นกันแบบนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วใครเป็นคนกำหนดกันแน่ สไตล์การเล่นและการตีความเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามองเห็นอะไรในเพลงเพลงนั้น และเลือกที่จะหยิบยกสิ่งนั้นออกมานำเสนอในดนตรี หรืออาจเปรียบเป็นคำพูดที่ตัวเองเป็นคนเรียบเรียงอย่างไร พอคิดได้แบบนั้นแล้วก็ทำให้มีความกล้าที่จะทลายกำแพงที่ล้อมกรอบตัวเองไว้ได้ประมาณนึง และทำให้สำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้อย่างสบายใจและสนุกไปกับมันมากขึ้นค่ะ

คิดว่าสิ่งสำคัญที่ได้ค้นพบจากการทำงานครั้งนี้ก็คงจะเป็นการเปิดใจทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (ที่เรียกได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของโปรเจกต์เลยทีเดียว) มีความกังวลมากมายระหว่างทาง ตั้งคำถามอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคอนเซปต์ไอเดียตัวเองว่าจะทำออกมาได้จริงหรือ หรือจะเป็นการนำ repertoire มาตีความ ที่พอออกมาแตกต่างจาก standard หรือความคุ้นชินของคนทั่วไปก็เกิดภาวะสงสัยในตัวเองอยู่บ้างเช่นกัน ว่าเราสามารถทำแบบนี้ได้ไหม คนอื่นเขาไม่ได้เล่นกันแบบนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วใครเป็นคนกำหนดกันแน่ สไตล์การเล่นและการตีความเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามองเห็นอะไรในเพลงเพลงนั้น และเลือกที่จะหยิบยกสิ่งนั้นออกมานำเสนอในดนตรี หรืออาจเปรียบเป็นคำพูดที่ตัวเองเป็นคนเรียบเรียงอย่างไร พอคิดได้แบบนั้นแล้วก็ทำให้มีความกล้าที่จะทลายกำแพงที่ล้อมกรอบตัวเองไว้ได้ประมาณนึง และทำให้สำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้อย่างสบายใจและสนุกไปกับมันมากขึ้นค่ะ

Q: Have you encountered any challenges, and how did you overcome them?

พูดถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ เพราะเป็นโปรเจกต์ที่เปิดทางให้มีประสบการณ์ครั้งแรกในหลายๆเรื่อง ปัญหาที่พบเจอจึงเป็นปัญหาใหม่ที่ไม่เคยเจอไปด้วยโดยปริยาย

 

อย่างแรกเลยคือปัญหาการลงวิชาทักษะวิชารอง ซึ่งไม่ได้ศึกษามาให้มากพอบวกกับไหวตัวช้าไป จึงไม่ทราบมาก่อนเลยว่าลงแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้ แพลนที่จะเปลี่ยนจากเดิมที่เรียนเชลโล่ไปเรียนฮาร์ปซิคอร์ดเพื่อนำมาใช้ในโปรเจกต์ครั้งนี้จึงล่มไป และต้องอาศัยอาจารย์วิทยากรที่รับเชิญมาเป็นครั้งคราวแทน ซึ่งในส่วนนี้ต้องขอบคุณทั้งอาจารย์ประจำวิชาที่มาช่วยติวและร่วม explore การเล่นฮาร์ปซิคอร์ดไปด้วยกัน และอาจารย์ภาควิชาที่คอยให้การสนับสนุนและช่วยจัดการเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับการเชิญวิทยากรค่ะ

ปัญหาอีกข้อที่คงจะพบได้เฉพาะจากการทำโปรเจกต์ในครั้งนี้ คือการขนย้ายเครื่องดนตรี ทั้ง Fortepiano และ Harpsichord ไปยังห้องที่จะทำการแสดงค่ะ ความวุ่นวายเกิดจากความรู้ที่เป็นศูนย์ตั้งแต่จะต้องติดต่อใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และความชะล่าใจของตัวเอง แต่ก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งที่ช่วยประสานทีมคนย้ายและขอบคุณพี่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแล เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการถอดประกอบและเคลื่อนย้ายกับตาด้วย เรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีโบราณยังไม่หมดเท่านี้ เพราะในวันแสดงยังมีประเด็นของการจูน Fortepiano และ Harpsichord ที่เกิดเสียงเพี้ยนหลังจากจูนเสร็จไประยะหนึ่งเพราะอุณหภูมิห้องที่เพิ่งจะคงที่เอาทีหลัง ในการแสดงช่วง Two keyboards จึงสามารถได้ยิน pitch ที่ขัดกันได้อย่างชัดเจน และถึงแม้จะไม่สามารถทำอะไรได้มากเพราะใกล้ได้เวลาแสดงแล้ว แต่จะเก็บไว้ประสบการณ์และบทเรียนครั้งสำคัญแน่นอนค่ะ

จากนั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดและจัดการได้ยากที่สุดสำหรับตัวเองเลยคือการบริหารจัดการเวลาค่ะ

 

เชื่อว่าคงเป็นอุปสรรคหินที่นักศึกษาหลายคนคงมีประสบการณ์ร่วมกัน ด้วยความที่มีทั้งกิจกรรมของทางสถาบันฯ ทั้งที่เข้าร่วมและจัดขึ้นเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การนักศึกษาฯ ไม่นับงานเอกสารยิบย่อย การจัดประชุม จัดค่าย เดินทางไปสัมมนาต่างๆ ลำพังการจัดสรรเวลาซ้อม ทั้งเมเจอร์และแอคคอม ไหนจะแชมเบอร์ ก็ค่อนข้างสาหัสอยู่แล้ว การวางแผนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของโปรเจกต์นี้ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เลื่อน ลดทอนหรือยกเลิกในบางประเด็นที่อยากทำมากกว่านี้อยู่บ่อยครั้ง

 

เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากตารางที่วางแผนไว้แต่มีงานเข้ามาแทรกอยู่ตลอดเวลาค่ะ ประสิทธิภาพในการซ้อมก็ลดลงและไม่ค่อยมีพัฒนาการในการเรียนแต่ละสัปดาห์ ทำให้อาจารย์ต้องเป็นห่วงและคอยผลักดันอยู่เสมอ พอเล่นยังไม่ได้ ความคืบหน้าของโปรเจกต์ก็แทบไม่มี ที่ตามมาคือสภาพจิตใจที่ค่อนข้างเครียดมากๆและไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรดี ในตอนนั้นจึงพยายามขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว ปรึกษาทั้งเพื่อนและครอบครัว อาจารย์ ที่ปรึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้าง ภายในระยะเวลาเท่านี้ ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ในมือประมาณนี้ ลองค้นหาความเป็นไปได้ในหลายๆ ทางดู ก็ได้รับแรงสนับสนุนอย่างดี พร้อมหนทางแก้ไขและทางออกใหม่ๆ บ้างก็เป็นสิ่งที่ตัวเองคาดไม่ถึงเลยค่ะ ในส่วนของสภาพจิตใจก็โชคดีมากๆ ที่ตัดสินใจลองปรึกษานักจิตบำบัดดูในช่วงเวลาที่ทันพอดีกับการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะแสดง ก็ได้ลองอนุญาตตัวเองให้ปรับตารางที่วางแผนไว้ให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ได้มากขึ้น ได้เรียนรู้ที่จะสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและก้าวผ่านความ insecure ที่มีอยู่ให้ได้ สุดท้ายจึงสามารถแสดงอย่างมีความสุขได้จริงๆ อย่างที่สัญญากับคุณหมอไว้ค่ะ
 

Q: What would you suggest to other people based on the experiences you’ve had?

สิ่งที่อยากจะแนะนำจากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา ก็คงเป็นการสนับสนุนให้ลองทำสิ่งที่อยากทำดู ถึงจะเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ ในบางคนอาจต้องลองใช้ความกล้าและแรงจูงใจที่มีกระโจนออกไปจากที่เดิมๆ แต่ว่าลองทำดูค่ะ แน่นอนว่าจะใช้ความกล้าอย่างเดียวไม่ได้ เพราะจากนี้จะมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดาหน้าเข้ามาให้ได้พบเจอตลอดเวลา การรับมือที่ชาญฉลาดเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการงานที่ทำ และการรับมือกับอารมณ์และรู้เท่าทันสภาพจิตใจของตัวเอง อาจจะมีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้อยากจะถอดใจอยู่หลายครั้ง ขอให้คิดไว้ว่าปัญหาที่เจอไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่งทุกอย่าง และอย่าได้ลังเลที่จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ 

 

ก่อนที่เราจะแสดงให้คนอื่นได้รับรู้ ได้มองเห็นในสิ่งที่เราทำ คงต้องเริ่มจากตัวเราเองที่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่กันแน่ ถ้าเราตระหนักรู้และยึดมั่นในสิ่งนั้น เชื่อว่าไม่เกินความสามารถที่จะก้าวเดิน เก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่พบระหว่างทาง มานำเสนอให้กับผู้ชมผ่านการแสดงอย่างที่ตั้งใจไว้ได้อย่างแน่นอนค่ะ

Projection for
future development

Q: What do you/your audiences like about the performance/project you’ve made? and what would you change if you had to do it again? 

สิ่งที่ชอบและประทับใจอย่างหนึ่งในโปรเจกต์ Bachs on Keyboards ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์แบบทั้งหมด แต่เราสามารถสร้าง approach ใหม่ๆ ให้ผู้คนได้เข้าถึง Period Instruments และ Bachs ได้มากขึ้น ความจริงแล้วนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่คำนึงถึงมาตั้งแต่แรก เพราะแม้แต่ในกลุ่มเพื่อนนักดนตรีด้วยกันเองเพลงของ J.S. Bach (ยังไม่นับเพลงของ Bach คนอื่นๆ) ก็ไม่ค่อยถูกพูดถึงหรือมีภาพลักษณ์ที่เข้าถึงง่ายหรือเป็น Mainstream เท่า composer ท่านอื่นๆ ตัวฮาร์ปซิคอร์ดเองก็จะถูกนำออกมาเล่นเฉพาะในคอนเสิร์ตของทางสถาบันฯ หรือในบางรายวิชาเป็นครั้งคราว การลดช่องว่างระหว่างคนดูและ Bachs กับ Keyboards จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญและท้าทาย

 

และเพราะการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จึงมีการตัดสินใจหลายๆ อย่างตามมา ทั้งการเลือก Woodbox เป็นสถานที่จัดการแสดง เพราะให้บรรยากาศโดยรวมที่ดูอบอุ่น เข้าถึงง่าย ตัวสเตจที่ดูกลมกลืน มีเส้นแบ่งระหว่างผู้ชมกับผู้แสดงน้อยกว่าฮอลล์จัดแสดงคอนเสิร์ตในความคิด การเลือกนำเสนอที่นอกเหนือจากดนตรีแล้วก็ยังมีบทความที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ตรงของผู้เล่น ซึ่งมากจากการที่มองว่าค่อนข้างยากที่จะให้ผู้ชมได้จินตนาการด้วยตัวเองทั้งหมด การสัมภาษณ์ขนาดย่อมโดยบุคคลที่มีประสบการณ์กับ Bachs และ Keyboards ทั้งประสบการณ์การร่วม ประสบการณ์เล่นและการฟัง รวมถึงกิจกรรมปลายเปิดที่ให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่มีต่อการแสดงในวันนั้นและ Bachs กับ Keyboards

หากสามารถทำโปรเจกต์และการแสดงนี้อีกครั้งได้ คงไม่มีอะไรที่อยากจะเปลี่ยนแปลงมากนักเพราะค่อนข้างพอใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาในระดับนึงแล้ว ที่อยากจะเปลี่ยนคงมีเพียงแค่สคริปต์ที่ใช้ในการพูดทั้งหมดในการแสดง เนื่องจากระยะเวลาที่ร่างสคริปต์ขึ้นมาค่อนข้างกระชั้นชิด และไม่ค่อยมีโอกาสได้ซักซ้อมก่อนที่จะพูดจริงในการแสดง มีหลาย ๆ จุดที่ยังตกหล่นและสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ค่ะ

Q: Which thoughts/ ideas you might want to explore further in your next project/performance?

สำหรับโปรเจกต์ที่จะทำต่อไปในปีหน้า ตามแผนที่วางเอาไว้คงไม่ได้โฟกัสกับบทประพันธ์ของ Bachs และเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดโบราณแล้ว แต่จากการประสบการณ์ที่ได้ลองเล่นและเรียนรู้จากการทำโปรเจกต์ที่ผ่านมาก็มีจุดที่อยากจะทำและเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของแนวทางการปฏิบัติดนตรีบนฮาร์ปซิคอร์ดที่ยังไม่ได้ศึกษาลงลึกนัก เช่น รูปแบบการอิมโพรไวซ์ การทำ ornament ต่างๆ ไปจนถึงบทบาทของฮาร์ปซิคอร์ดในวง ฯลฯ เป็นเรื่องใหม่ๆ ที่รอให้ได้ทดลองและค้นพบต่อไปเมื่อมีโอกาสค่ะ

Q: Having explored new possibilities in presenting your music (other than just making a concert), what do you see as your new approach for reaching out to your audience with your music?

สิ่งที่มองเห็นจากการเข้าหาผู้ชมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ก็ต้องบอกว่านี่เป็นการทดลองครั้งแรก สำหรับครั้งแรกก็รู้สึกดีใจมากที่มีผู้ชมมาร่วมกิจกรรม มีผู้ชมเปิดใจมานั่งฟังอยู่ด้วยกันตลอดจนจบการแสดงซึ่งรวมการสัมภาษณ์ก็เกือบหนึ่งชั่วโมงแล้ว จบการแสดงก็มีหลายๆ คนที่เข้าไปลองนั่งเล่นฮาร์ปซิคอร์ดและฟอร์เต้เปียโนกันดู จากความสนใจที่ผู้ชมมีก็มองว่าประสบความสำเร็จในก้าวแรกค่ะ

Reflection

Supparang Sujarit's Junior Recital

bottom of page