
Bachs on Keyboards
J.S. Bach - Italian Concerto BWV971
C.P.E. Bach - Rondo in E-Flat Major Wq. 61/1 H. 288
J.C. Bach - Sonata for Two Keyboard in G major WA21, I. Allegro
Bachs on Keyboards
(n.) a combination of 3 Bachs
(J.S. Bach, C.P.E. Bach, & J.C. Bach)
and 3+1 Keyboards
(Piano, Harpsichord, Fortepiano, & Typing Keyboards)
บทเพลงจากนักประพันธ์เลื่องชื่อทั้งสามท่านจากตระกูลบาค
ไม่ว่าจะเป็นโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค คีตกวีผู้ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งดนตรีโพลีโฟนีหรือดนตรีที่มีการสอดประสานของทำนองหลายแนวด้วยกัน
คาร์ล ฟิลลิปป์ เอ็มมานูเอล บาค บุตรชายของบาคผู้เขียน Essay on the True Art of Playing Keyboard Instruments ซึ่งเป็นตำราที่บันทึกเกี่ยวกับหลักการเล่นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่สำคัญและถูกใช้อย่างต่อเนื่องมาอย่างช้านาน
และบุตรชายคนเล็กของบาค โยฮันน์ คริสเตียน บาค
นำเสนอผ่านการแสดงเปียโนที่ผนวกเข้ากับการบรรเลงบนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดโบราณอีกสองชนิด อย่างฮาร์ปซิคอร์ดและฟอร์เต้เปียโน โดยบอกเล่าประสบการณ์การทดลองเล่นบนเครื่องดนตรีที่กล่าวมาผ่านการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของบทความบอกเล่าเรื่องราว
Link to the Article
Bachs, Keyboards, & Me
10.05.2023
Link to the Performance
Bachs on Keyboards
10.05.2023
Link to the Reflection
Bachs, Keyboards,
& Me
จำได้ว่าช่วงปิดเทอมหน้าร้อนปี 2551 คุณแม่พาไปสมัครเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีแห่งหนึ่งใจกลางเมืองภูเก็ต ขณะนั้นเป็นโรงเรียนที่เพิ่งเปิดได้ไม่เกินสามปี อุปกรณ์ใหม่เอี่ยมครบครัน คุณครูรุ่นใหม่ไฟแรงและยังมีจำนวนนักเรียนไม่เยอะมาก หลังจากได้เห็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “เปียโน” บนจอโทรทัศน์ ก็ได้เห็นกับตาตัวเองและได้สัมผัสเปียโนที่อยู่ตรงหน้าจริง ๆ ในตอนนั้นเอง
นั่นคือประสบการณ์ครั้งแรกที่ตัวฉันมีต่อเปียโน
ในตอนแรกการเรียนในห้องเรียนรูปแบบกลุ่มเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกสนุกสนานไปกับเพื่อนใหม่ในห้อง ตัวดนตรีหรือเครื่องดนตรีในตอนนั้น ยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้มากนักตามประสาเด็กนักเรียนประถมทั่วไป เมื่อเริ่มเรียนรู้อ่านตัวโน้ตได้จนคล่อง ได้ลองเล่นและรู้จักเพลงหลากหลายมากขึ้น จึงเริ่มรู้สึกว่าเพลงที่คุณครูเล่นให้ฟังไพเราะดีจัง อยากจะเล่นให้ได้แบบนั้นบ้าง ระยะเวลาผ่านไปอย่างช้า ๆ ค่อยได้ตกตะกอนและค้นพบว่าตัวเราชอบเสียงเปียโน ชอบที่จะเล่นเปียโน จึงยังคงเล่นเปียโนต่อมา
ผ่านมาราว 12 ปีให้หลัง ก็เป็นช่วงเวลาที่ได้เริ่มศึกษาต่อที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ความรู้สึกในตอนนั้นการได้มาอยู่ที่นี่เหมือนฝันที่กลายเป็นจริง
ด้วยความที่เป็นเด็กต่างจังหวัด ตัวเราไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านดนตรีมาก่อน สถานที่อาคารเรียน ห้องซ้อม รวมถึงเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชนิด รวมถึงฮาร์ปซิคอร์ดตัวสีฟ้าที่ตั้งอยู่
บนชั้นสองก็เช่นกัน
สิ่งที่รู้เกี่ยวกับฮาร์ปซิคอร์ดในตอนนั้น ทราบเพียงว่า “อ๋อ นี่สินะ เครื่องดนตรีที่บาคเล่น” เป็นผลมาจากการที่คุณครูมักจะเล่าให้ฟังเสมอในทุก ๆ ครั้งที่มีโอกาสได้เรียน Prelude and Fugue ว่า articulation ในเพลงสมัยบาโรก จะต้องไม่ยาวหรือเล่นให้เสียงออกมาติดกันมาก เพราะในสมัยนั้นเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด ยังคงถูกเล่นบนฮาร์ปซิคอร์ดซึ่งมีกลไกการกำเนิดเสียงที่แตกต่างจากเปียโน ทั้งไม่สามารถทำเสียงให้ดังขึ้นหรือเบาลงได้ และยังมีลักษณะของเสียงที่ไม่ทอดยาวเหมือนเปียโนอีกด้วย เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยที่จะเล่นให้ออกมาไพเราะและถูกต้องตามสไตล์ได้คือความคิดในขณะนั้น ถึงอย่างนั้นก็มองว่านั่นคือสเน่ห์ที่ทำให้เพลงในยุคนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และบางที นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของความชอบที่มีต่อบทประพันธ์ช่วงบาโรกเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะบทเพลงของบาค (ซึ่งในขณะนั้นทราบเพียงชื่อของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เพียงผู้เดียว) ที่มีความน่าสนใจในแง่ของการสอดประสานของทำนองหลากหลายแนว (polyphony) และการเล่นที่ผู้เล่นจะต้องนำเอาตัวทำนอง (motif) ที่ซ่อนอยู่ตามแต่ละแนวออกมาให้ผู้ชมได้ยิน
ประสบการณ์ครั้งแรกที่มีโอกาสได้เล่นฮาร์ปซิคอร์ดตัวนั้น คือสัปดาห์โครงการพิเศษหรือที่นักศึกษาเรียกกันว่า Project Week ในภาคการศึกษาต้น ชั้นปีที่ 1 หัวข้อของกิจกรรมที่เข้าร่วมในขณะนั้นคือ Figure Bass and Improvisation โดยอาจารย์วิทยากรรับเชิญ อาจารย์ Alberto Firrincielli และอาจารย์ผู้ควบคุมดูแล ผศ.ชัญพงษ์ ทองสว่าง นอกจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Figure Bass ลองเล่นด้นสดไปกับเพื่อน ๆ แล้ว อีกกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจในขณะนั้นคือการที่ได้เล่น Basso Continuo เป็นครั้งแรก หลังจากที่เคยได้ยินแต่เพียงชื่อและเห็นผ่าน ๆ ในข้อสอบวัดความรู้ทางประวัติศาสตร์ดนตรีเมื่อแรกสอบเข้า จนมาถึงการได้เล่นฮาร์ปซิคอร์ดร่วมกับเพื่อน ๆ เครื่องอื่น ๆ อย่างวิโอล่า เชลโล่ ดับเบิลเบสในตอนนั้น ด้วยความเป็นนักเรียนเปียโนที่ไม่มีโอกาสได้เล่นร่วมกับวงบ่อยนักก็อดรู้สึกสนุกไปกับการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดในเวลานั้นไม่ได้
ตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำให้ได้เห็นทั้งอาจารย์และรุ่นพี่เปียโนฝึกซ้อมและแสดงบนฮาร์ปซิคอร์ดอยู่หลายครั้งหลายครา ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้ การได้ทดลองเรียนและเล่นฮาร์ปซิคอร์ดได้กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่อยากจะทำในระหว่างที่ยังศึกษาอยู่ที่นี่ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นจูเนียร์รีไซทอลที่หยิบยกเอาบทประพันธ์ของบาคขึ้นมาเล่นบนฮาร์ปซิคอร์ด ซึ่งเป็นสิ่งที่จินตนาการถึงมาโดยตลอดในการตีความบทประพันธ์เมื่อครั้งที่บรรเลงบนเปียโน
ในความเป็นจริงแล้วการสลับจากการเล่นเปียโนมาเป็นฮาร์ปซิคอร์ดนั้นท้าทายกว่าที่คิดเอาไว้มาก ต่อให้เป็นคนที่เล่นเปียโนอยู่แล้วก็ยังต้องปรับตัวไม่น้อย หากจะเปรียบให้เห็นภาพคงไม่ต่างอะไรจากการเปลี่ยนจากเล่นไวโอลินไปเป็นเชลโล ถึงแม้ว่าหลักการในการจับคันชักโบว์หรือการกดสายลงบนตำแหน่งที่แน่นอนแล้วสีให้เกิดเสียงจะยังเหมือนเดิม แต่ระยะห่างในส่วนของตำแหน่งการกดนิ้วกว้างจากเดิมเสียมาก ไหนจะองศา การลงน้ำหนักในการสีและใช้ความเร็วในการขยับโบว์ที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง
ในทำนองเดียวกัน การเล่นฮาร์ปซิคอร์ดราวเดือนเศษก็ได้ทำให้ค้นพบข้อแตกต่างจากเปียโนมากมาย
ที่ต่างอย่างเห็นได้ชัดคงเป็น touching กดคีย์ลงไปอย่างไรเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพออกมา คงเพราะความคุ้นชินที่ยังไม่มากพอจะกะเกณฑ์ได้ในทุก ๆ ครั้งที่เล่น จึงทำให้ยังคงเป็นปริศนาในการเล่นบางครั้ง ฮาร์ปซิคอร์ดไม่สามารถทำเสียงดังขึ้นหรือเบาลงได้ สิ่งที่จะทำให้เพลงมีสุนทรียะและฟังดูไพเราะจึงเป็น articulation การใช้ความสั้น-ยาวของโน้ตมาเป็นตัวสร้างสีสันให้กับบทเพลง อีกทั้งการใช้ finger technique ที่เน้นไปที่การใช้ปลายนิ้วเป็นหลัก ยังไม่นับรายละเอียดยิบย่อยอื่น ๆ กล่าวคือนิสัยการขยับ
ข้อมือใด ๆ ที่เล่นจนเคยชินบนเปียโนไม่อาจนำมาใช้ได้เลย เพราะไม่ส่งผลต่อการกำเนิดเสียงซึ่งมาจากการเกี่ยวสายต่างจากเปียโนที่เป็นคอนเซ็ปต์ของค้อนตีสายอย่างที่เราทราบกันดี
อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการทำงานที่เริ่มจากการหัดเล่นบทประพันธ์ที่ยกมาในการแสดงครั้งนี้บนเปียโนเมื่อแรกเริ่ม สิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดคือ ไอเดียของการดีไซน์รูปประโยคเพลงและวรรคตอน (phrasing) ถึงแม้ว่าการนำเสนออาจจะออกมาด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แต่หากจะบอกว่าเป็นเรื่องเดียวกันคงไม่ผิดเพี้ยนนัก เพราะองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในบทเพลงอย่างการประสานเสียง (harmony) จังหวะ (rhythm) และทำนอง (melody) ยังคงเดิม ที่ต้องปรับเปลี่ยนจึงเป็นการตีความบทเพลงและเทคนิคในการเล่นที่แตกต่างออกไป
บนเปียโนนั้นเราสามารถตีความและเล่นได้ในหลากหลายรูปแบบ หากต้องการทำ articulation ให้มีความเป็นบาโรกตรงตาม tradition เล่นให้เสียงไม่สั้นไม่ยาวเกินไป (detache) อย่างชัดเจนก็ทำได้ หรือจะทำให้บทเพลงมีความน่าสนใจในแง่ของการนำมาตีความใหม่แบบร่วมสมัย ใส่สีสันที่เกิดจากเทคนิคซึ่งทำได้บนเปียโนในปัจจุบันลงไป เช่นการใช้ pedal เพื่อให้ได้เสียงที่ฟังดูไม่แห้งจนเกินไป ก็ย่อมทำได้เช่นกัน ส่วนบนฮาร์ปซิคอร์ดนั้น เป็นเพราะข้อจำกัดบางอย่างของตัวเครื่องดนตรี สไตล์การเล่นและเทคนิคแพรวพราวอาจทำได้ไม่หลากหลายถึงขนาดที่เปียโนทำได้ แต่โทนเสียงและเทคนิคหลายอย่างที่น่าสนใจของฮาร์ปซิคอร์ดเองนั้นก็ไม่สามารถเลียนแบบได้บนเปียโนเช่นกัน
โปรเจกต์ในครั้งนี้ได้มอบประสบการณ์ครั้งแรกในหลาย ๆ ด้าน
ทั้งที่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ทั้งที่ไม่อาจคาดเดาได้
เป็นครั้งแรกที่ได้ลองเล่นฮาร์ปซิคอร์ดอย่างจริงจัง
ครั้งแรกที่ได้เล่นบทประพันธ์ของบาคอีกสองท่าน นั่นก็คือ โยฮันน์ คริสเตียน บาค
และคาร์ล ฟิลลิปป์ เอ็มมานูเอล บาค
เป็นครั้งแรกที่ได้เล่นบทประพันธ์สำหรับ Two Keyboard ที่เป็น Fortepiano และ Harpsichord เสียด้วย
เป็นครั้งแรกที่ได้ลงมือทำการแสดงเดี่ยวตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนด้วยตัวเอง
ครั้งแรกที่ได้ทดลองรับบทพิธีกรในการแสดงของตัวเองและได้ลองจัดการสัมภาษณ์ขนาดย่อม
และประสบการณ์ที่น่าจดจำเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากแรงสนับสนุนมากมายจากผู้ที่คอยส่งกำลังใจและผลักดันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ทุกท่านและที่ปรึกษาที่คอยดูแลเอาใจใส่มาโดยตลอด
คุณแม่ที่คอยรับฟังในทุก ๆ เรื่อง เพื่อน ๆ ทุกคนที่อยู่เคียงข้างและมอบพลังใจให้เสมอมา
และผู้ชมทุกท่านที่มาในวันนี้
ขอขอบคุณจากใจค่ะ
Bachs on Keyboards
Performance Recording
10.05.2023 03.00 p.m.
at C312 Thai-Asean Music Centre
Princess Galyani Vadhana Institute of Music
Timestamps
Introduction 00:00:11
J.S. Bach - Italian Concerto in F major BWV971
I. Allegro 00:01:41
II. Andante 00:06:56
III. Presto 00:12:01
C.P.E. Bach - Rondo in Eb major Wq.61/1 H288 00:16:57
J.C. Bach - Sonata for Two Keyboards op.15 no.5
I. Allegro 00:22:53
Bachs, Keyboards, and Me - Self Reflection 00:29:10
Bachs, Keyboards, and You - Short Interview 00:39:22
End Credit 00:51:45
Keywords
บาโรก
ตระกูลบาค
Baroque
Bach Family
เครื่องดนตรี
คีย์บอร์ด
Keyboard Instrument
แนวทาง
การปฎิบัติดนตรี
Performance Practice
Objectives
1. เพื่อศึกษาทำความรู้จักเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากเปียโน
2. เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคีตกวีที่มีความเชื่อมโยงกับบาคซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
3. เพื่อศึกษาทดลองการปฏิบัติดนตรีบนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดแต่ละชนิด
4. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวต่อบุคคลทั่วไปผ่านการแสดงและการเผยแพร่ผลงานและการค้นคว้า
Scope
1. ในการศึกษาครั้งนี้ จะทำการศึกษาและทดลองเล่นบนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดชนิดฮาร์ปซิคอร์ด ฟอร์เต้เปียโน และเปียโนเท่านั้น
2. ในการศึกษาครั้งนี้ จะทำการศึกษาเกี่ยวกับประวัติและผลงานสำคัญของนักประพันธ์ทั้งหมดสามท่าน ได้แก่ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค, คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอล บาค และ โยฮันน์ คริสเตียน บาค เท่านั้น
3. ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ใช้สำหรับศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างบทประพันธ์ของนักประพันธ์ทั้งสามท่านและแนวทางปฏิบัติดนตรีสำหรับบทประพันธ์นั้น ๆ ในการศึกษาครั้งนี้จะมีด้วยกันสามบทเพลง ได้แก่
-
J.S. Bach - Italian Concerto BWV971
-
C.P.E. Bach - Rondo in E-Flat Major Wq. 61/1 H. 288
-
J.C. Bach - Sonata for Two Keyboard in G major WA21, I. Allegro
Methodology
กำหนดหัวข้อการศึกษา
พูดคุยกับที่ปรึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลและมองหาความเป็นไปได้ในหัวข้อนั้น จากนั้นจึงกำหนดคำถามการวิจัย ขอบเขตการศึกษา และระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเว็บไซต์ หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นตามหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการเขียนบทความและการฝึกซ้อม
เรียบเรียงข้อมูล
เรียบเรียงข้อมูลที่ได้ทำการศึกษา บรรยายถึงประสบการณ์ในการทดลองปฏิบัติบนเครื่องดนตรีข้างต้นในรูปแบบบทความบอกเล่าเรื่องราว
กำหนดบทประพันธ์ที่จะใช้
กำหนดบทประพันธ์ที่ต้องการนำมาเล่น/ใช้ประกอบการศึกษา และใช้ในการการแสดง โดยให้มีความสอดคล้องไปกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา
และเริ่มต้นฝึกซ้อม
ทดลองฝึกซ้อม
บนเครื่องดนตรี
โดยที่ปรึกษาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในส่วนของแนวทางการปฏิบัติดนตรีบนเครื่องดนตรีต่าง ๆ และฝึกซ้อมให้เกิดความเคยชิน
สรุปผลการศึกษา
นำเสนอและเผยแพร่
สรุปผลการศึกษาและนำไปสู่การนำเสนอผลงานในรูปแบบการแสดง
รวมทั้งเผยแพร่ผลการศึกษาในรูปแบบเว็บไซต์
Literature Review
Bachs



Keyboards
Harpsichord
Fortepiano



Pianoforte
References
Bibliography
-
Marshall, Robert L. “Johann Sebastian Bach.” Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, inc., July 26, 1999. https://www.britannica.com/biography/Johann-Sebastian-Bach.
-
“Carl Philipp Emanuel Bach.” Bach. Accessed December 8, 2022. https://www.bach-leipzig.de/en/bach-archive/carl-philipp-emanuel-bach.
-
“Carl Philipp Emanuel Bach.” Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, inc., July 20, 1998. https://www.britannica.com/biography/Carl-Philipp-Emanuel-Bach.
-
“Johann Bach.” Noten & Bücher. Accessed December 8, 2022. https://www.schott-music.com/en/person/index/index/urlkey/johann-bach.
Bachs on Keyboards
Junior Piano Recital
Producer&Director
Supparang Sujarit
Pianist&Harpsichordist
Supparang Sujarit
Guest Fortepianist
Luksupa Thongpaen
Cameraman
Naphat Saengtubtim
Photographer
Narisada Chantarasuphasang
Technical Support
Phakapol Vitayapha
Editor
Supparang Sujarit
Scriptwriter&Moderator
Supparang Sujarit
Stage Crew
Phanuwat Ruttanakun
Laksamon Phumichart
Kraiwit Chaiseema
Ruetaichanok Aumkaew
Watcharaphon Ratsameejaturong
Crafts Service
Laksamon Phumichart
Music Supervisor
Wasin prasertlarp
Music Instructor
Asst. Prof. Dr. Chanyapong Thongsawang
Alberto Firrincieli
Project Supervisor
Khetsin Chuchan
Special Thanks
PGVIM Staffs
Sommart Yangyiam
Palut Pawaratison
Pongsathorn Seewiset
101 Piano and Strings
Thank you
Bio

Contact
ศุภรางศุ์ สุจริตเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 8 ปีและมีความฝันอยากเป็นครูสอนเปียโนมานับแต่นั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงยังคงเล่นเปียโนมาโดยตลอด
ศุภรางศุ์ผ่านการสอบวัดระดับและมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันหลายรายการ
และได้เข้าเรียนที่สถาบัน-ดนตรีกัลยาณิวัฒนาในที่สุด
ศุภรางศุ์ได้เรียนเปียโนกับอาจารย์อภิชัย แซ่ลิ้ม อาจารย์ ภญ.บุญญาพร ยิ่งเสรี อาจารย์ Frank Reich และเรียนกับอาจารย์วศิน ประเสริฐลาภ ตั้งแต่สิงหาคม 2565
เป็นต้นมา
ปัจจุบันศุภรางศุ์ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยมีความตั้งใจที่จะหมั่นเรียนรู้ เพื่อทำตามความฝันต่อไป
Tel: 0935309205 | Supparang.suj@gmail.com
Follow me: